เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ ตัวช่วย เพื่อคนที่คุณรัก

฿2,500
5/5
เบาะยางลาดเอียง 45 องศา ป้องกันการพลิกลับ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดบวม ไม่เกิดแผลกดทับ ปลอกผ้ากันน้ำ 100% ทำความสะอาดผู้ป่วยได้สะดวก
น้ำหนัก1.5 kg
ขนาด26 × 50 × 13 cm
สีของสินค้าเทา
รายละเอียดสินค้า

เชื่อว่าการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตัวเอง หรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัญหาที่จะตามมามักจะเป็นแผลกดทับ ที่เกิดจากการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนทำให้ผิวหนังในส่วนที่กดทับตาย และเป็นแผลยากที่จะรักษา และคุณทราบหรือไม่ว่า แผลกดทับนั้นหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลให้แผลติดเชื้อจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องหมั่นพลิกตะแคงเปลี่ยนด้านอย่างสม่ำเสมอ ขอแนะนำเครื่องทุ่นแรงสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ด้วย เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ ซึ่งเป็น นวัตกรรม หมอนรอง สำหรับรองหลัง ป้องกัน แผลกดทับ ได้เป็นอย่างดี ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยพลิกกลับ และยังช่วยให้ผู้ดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

แผลกดทับคืออะไร ทำไมถึงต้องใช้เบาะพลิกตัว?

แผลกดทับ เป็นแผลที่เกิดจากการกดทับเป็นเวลานาน เช่น นอนท่าเดิมติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งท่าเดิมนาน ๆ เป็นต้น ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื้อใต้ผิวหนังถูกทำลายจนเกิดเนื้อตายและแผลขึ้น มักจะพบแผลกดทับได้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น

แผลเกิดทับเกิดจากอะไร?

สาเหตุหลัก ๆ ของแผลกดทับนั้น แน่นอนว่าเป็นการกดทับบริเวณเดิมนาน ๆ ไม่ว่าจะนั่งหรือนอน และปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ได้แก่

  • นอนติดเตียงตลอดเวลา หรือนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน
  • เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
  • ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำและอาหาร
  • โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
  • ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อม

อันตรายที่เกิดจากแผลกดทับ

แผลกดทับนั้นถือว่าเป็นบาดแผลที่อันตรายหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแผลกดทับจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งระยะแรกนั้น ที่ผิวหนังจะมีรอยแดง ใช้มือกดแล้วแต่รอยแดงนั้นไม่ได้จางหายไป ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเสียกายเป็นบางส่วน จากนั้นแผลจะเริ่มลึกถึงชั้นไขมัน ทำให้สูญเสียผิวหนังทั้งหมด หรือผิวหนังตาย ท้ายที่สุดก็จะอาจจะส่งผลให้แผลลึกเห็นถึงกระดูกได้

อาการของแผลกดทับ

อวัยวะที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับได้มากนั้นมักเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมากและต้องรับแรงกดทับโดยตรง ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า เท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ ส่วนผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นเป็นเวลานานเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ก้น หลังแขน หลังต้นขา หรือด้านหลังของกระดูกสะโพก โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการหลายอย่าง ได้แก่ สีหรือลักษณะผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการบวม มีหนองออกมา เกิดอาการอุ่นหรือเย็นตรงผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ และมักกดแล้วเจ็บบริเวณที่เป็นแผลกดทับ ทั้งนี้ อาการของแผลกดทับจะรุนแรงขึ้นตามระยะต่าง ๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 แผลกดทับระยะนี้จะไม่เปิดออก มีลักษณะอุ่น นุ่มหรือแข็ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและระคายเคือง ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี ผู้ที่มีผิวขาวอาจเกิดรอยแดง ส่วนผู้ที่มีผิวเข้มอาจเกิดสีเขียวอมม่วง เมื่อกดลงไปบนแผล แผลจะไม่กลายเป็นสีขาว

ระยะที่ 2 แผลกดทับระยะนี้เป็นแผลเปิดหรือมีแผลตุ่มน้ำพอง เนื่องจากหนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังหลุดลอก ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้น

ระยะที่ 3 แผลจะมีลักษณะเป็นโพรงลึก ซึ่งอาจเห็นไขมันที่แผล เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดออกไป รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย

ระยะที่ 4 แผลกดทับระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด โดยผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายอย่างรุนแรง รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตายหรือที่เรียกว่าเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน (Tissue Necrosis) กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปอาจถูกทำลายด้วย

การรักษาแผลกดทับ

การรักษาแผลกดทับนั้น มีวิธีการที่หลากหลาย โดยหัวใจสำคัญของการรักษานั้น คือการลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีการรักษานั้น ได้แก่

  1. ลดแรงกดทับ โดยปกติแล้วนั้น ผู้ดูแลมักจะมีตารางเวลาในการพลิกตะแคงผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นเวลา โดยการจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคง ควรจะท่าให้นอนที่ 30-45 องศา และใช้หมอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา
  2. ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  3. การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  4. การผ่าตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำความสะอาดแผลและตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป
  5. ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม
  6. ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับทารักษา ช่วยให้แผลหายไวขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลาย
  7. การดูแลอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด โภชนากร และศัลยแพทย์ตกแต่ง

ผู้ป่วยแผลกดทับอาจได้รับการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ยาแก้ปวดเฉพาะที่ ผู้ป่วยอาจได้รับยาแก้ปวดเฉพาะที่หรือยาบรรเทาอาการปวดที่ไม่ผสมสารสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซน
  • อาหารเสริม แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โปรตีน สังกะสี และวิตามิน เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากร่างกายขาดวิตามินหรือแร่ธาตุดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับที่ผิวหนังได้ง่าย
  • การผ่าตัด ผู้ป่วยแผลกดทับที่รักษาแผลให้หายไม่ได้ จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายตนเองมาปิดแผลและใส่รองกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับจนยากที่จะรักษา เบาะพลิกตัว จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล อีกทั้งผู้ป่วยที่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่บนเตียงก็สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง ป้องกันการนอนหรือกดทับเป็นเวลานาน ๆ ในบริเวณเดิม ๆ จนเกิดแผลกดทับได้

นวัตกรรม หมอนรอง สำหรับรองหลัง ป้องกัน แผลกดทับ

นวัตกรรมแผ่นยางทรงสามเหลี่ยม สโลปลาดลงด้านหน้า 30 องศา ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ ใช้สำหรับรองหลังผู้ป่วยติดเตียงให้สามารถพลิกตัวนอนตะแคงได้แล้วไม่พลิกย้อนกลับทางเดิมซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลกดทับ เพราะนอนท่าเดิมหรือทางเดิมเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังช่วยทำความสะอาดผู้ป่วยได้สะดวก ผ่อนแรงผู้ดูแลได้เป็นอย่างมาก

เบาะดันหลัง นอนตะแคง ป้องกันแผลกดทับ ดีอย่างไร?

  • ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ แข็งแรง ทนทาน
  • ใช้สำหรับรองข้อมือ เท้า หรือหลังผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง และป้องกันการพลิกกลับ
  •  ช่วยลดแรงกดทับและช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนอนหรือนั่งบนเตียงในท่าเดิมนาน ๆ
  • ช่วยผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล เบาแรง
  • ปลอกเบาะพลิกตัวเป็นผ้าทอแบบพิเศษ มีความแข็งแรง ทนทาน กันน้ำได้ 100%
  • เบาะสามารถระบายอากาได้ดีศ ไม่ร้อน, ไม่ก่อให้เกิดเหงื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอับชื้นทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • มีซิปช่วยให้ถอดซักทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
  • มีหูหิ้ว สามารถพกพา หรือเก็บได้สะดวก

เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ เพื่อคนที่คุณรัก

เพราะแผลกดทับนั้นอันตรายถึงชีวิตได้หากแผลเกิดการติดเชื้อขึ้น ผู้ดูแลส่วนใหญ่จึงมีตารางเวลาในการพลิกตัวผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการกดทับที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น ก้นกบ หลัง ข้อเท้า ฯลฯ ดังนั้น เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยพลิกตัวกลับมานอนท่าเดิม และยังช่วยผ่อนแรงผู้ดูแลอีกด้วย ซึ่งเบาะดันหลังนั้นผลิตจากยางพาราธรรมชาติแท้ ออกแบบให้สโลปลดลงด้านหน้า 30 องศา สำหรับดันหลัง รองขา เป็นต้น และยังมีหูหิ้ว ขนย้ายได้สะดวก พร้อมกับซิปเพื่อถอดทำความสะอาด ป้องกันการเกิดเชื้อราและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบางปะกอก / โรงพยาบาลกรุงเทพ

เสียงตอบรับจากผู้ซื้อสินค้าของเรา
ก้อย Health-C พารา Bubble

นั่งดีมากค่ะ วันนี้ได้ใช้หลายชั่วโมงเลยค่ะ

นู่เปียนโน Health-C พารา Bubble

ชอบรุ่นนี้มาก เอามานั่งรองโต๊ะทำงานรู้สึกสบาย อีกอันเอามาพิงหลัง รุ่นนี้เหมือนนวดเราในตัว.. ชอบมากรุ่นนี้

mod Health-C พารา Bubble

เบาะรองนั่งรุ่น Bubble ช่วยให้การนั่งทำงานนานๆ วันละ 8 ชั่วโมง สบายมากขึ้น เพราะรุ่นนี้ให้ความยืดยุ่นไม่ร้อน...

สินค้าแนะนำ